Friday, September 9, 2011

ผลของการปรับพฤติกรรมทางปัญญาที่มีต่อความมีระเบียบวินัยในตนเองของนักกีฬา

ชื่อเรื่อง
                ผลของการปรับพฤติกรรมทางปัญญาที่มีต่อความมีระเบียบวินัยในตนเองของนักกีฬา
ผู้วิจัย
                นางพิมพา  ม่วงศิริธรรม
ปีที่วิจัย
                2544
หลักสูตร
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต
สาขาพลศึกษา ภาควิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรับพฤติกรรมทางปัญญาที่มีต่อความมีระเบียบวินัยในตนเองของนักกีฬา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตบอลชายของโรงเรียนกีฬากรุงเทพมหานคร ที่มีอายุตั้งแต่ 1114 ปี จำนวน 8 คน กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง 4 คน ได้รับการปรับพฤติกรรมทางปัญญาด้ายการฝึกทักษะทางจิต ได้แก่ เทคนิค การตั้งเป้าหมาย การจินตภาพ การพูดกับตนเองในทางที่ดี การดูแบบ และการให้แรงเสริมทางบวกควบคู่กับการฝึกซ้อมและแข่งขันกีฬาฟุตบอล การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการโดยบันทึกพฤติกรรมความมีระเบียบวินัยในตนเองของนักกีฬาที่เกิดในแต่ละวัน จากการสังเกตนักกีฬาทั้งสองกลุ่มโดยผู้สังเกตในระยะเส้นทาง ระยะทดลอง และระยะติดตามผล และนักกีฬาตอบแบบวัดความมีระเบียบวินัยในตนเองก่อนการทดลอง หลังสิ้นสุดการทดลอง และหลังสิ้นสุดการทดลอง 3 สัปดาห์ นำผลที่ได้จากการสังเกตโดยผู้สังเกต โดยผู้สังเกตและจากการตอบแบบวัดพฤติกรรมความมีระเบียบวินัยในตนเองโดยนักกีฬา มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ เฉลี่ยของพฤติกรรมที่เกิดวอเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางชนิดวัดซ้ำ และทดสอบค่าที่
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า
1.             การปรับพฤติกรรมทางปัญญามีผลต่อพฤติกรรมความมีระเบียบวินัย ในตนเองของนักกีฬา นักกีฬากลุ่มทดลองที่ได้รับการปรับพฤติกรรมทางปัญญามีพฤติกรรมความมีระเบียบวินัยในตนเอง ในระยะสิ้นสุดการทดลองและระยะติดตามผล แตกต่างจากระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 แต่ในกลุ่มควบคุมไม่พบความแตกต่างกัน
2.             ในระยะสิ้นสุดการทดลองและระยะติดตามผล นักกีฬากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีพฤติกรรมความมีระเบียบวินัยในตนเอง ไม่แตกต่างกัน

Thursday, September 8, 2011

การว่ายน้ำท่าผีเสื้อ


Butterfly Stroke

Butterfly คือท่าว่ายที่ยากของการที่จะเรียนรู้ท่าว่ายนี้ต้องการกล้ามเนื้อจำนวนมากและข้อต่อและเคลื่อนไหวของไหล่และ
ช่วงหลังถึงสะโพก การว่ายน้ำท่านี้ต้องการจังหวะที่ดีของแขนและการเตะขาและจังหวะการหายใจ ( breathing)
Flippers ( swimfins ) คือผู้ช่วยซึ่งจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ที่จะว่ายน้ำท่าผีเสื้อ ( butterfly stroke ) การฝึกฝนและการเรียนรู้ในการหมุนหัวไหล่จะช่วยในการว่ายให้ดีขึ้น
ถ้าคุณมีความรู้สึกที่จะดูการว่ายของปลาโลมา, สิ่งนั้นคือท่าว่ายสำหรับคุณ เพราะเมื่อคุณดูนักว่ายน้ำว่ายท่าผีเสื้อ
และรู้สึกมีชีวิตชีวาและมีจินตนาการการว่ายของปลาโลมา นั่นแหละคุณกำลังจะเป็นนักว่ายน้ำท่าผีเสื้อที่ดีในอนาคต 




๏ เส้นทางนำร่องการว่าย butterfly ดังต่อไปนี้ การว่ายพร้อมทั้งการเรียนรู้ในความคิดของคุณจะช่วยคุณที่จะพัฒนา
สไตล์โดยธรรมชาติด้วยตัวเองของคุณ .และที่สำคัญที่สุดคือความรู้ของการลื่นไหลของการว่ายของคุณเอง

๏ สิ่งที่ดีคือการเฝ้าดูนักว่ายน้ำที่มีความสามารถในท่าผีเสื้อ ว่ายเหนือน้ำและใต้น้ำ

๏ รักษาการเป็นลูกคลื่นในส่วนของร่างกายทั้งหมดเป็นจังหวะลูกคลื่น

๏ ว่ายโดยปราศจาก Flippers โดยว่ายแบบปลาโลมา หรือที่เราเรียกว่า Stream Line ฝึกในระยะ 10 - 15 เมตร

๏ ว่ายโดยใช้ Flippers และใช้ขาแบบปลาโลมาแขนเหยียดตรงไปด้านหน้าและอีกครั้งใช้แขนแนบลำตัว อย่างละครั้ง
ในเทียวไปและกลับ

๏ ฝึกทำแขนท่าผีเสื้อ ( butterfly ) ข้างหน้ากระจก

๏ ฝึกหายใจเมื่อแขนของคุณกำลังผ่านสะโพก

๏ ร่างกายของคุณ จะปฏิบัติตามหัวของคุณ ในการที่จะรักษาการเป็นลูกคลื่น

๏ เตะขาสองครั้งต่อการหมุนแขนหนึ่งครั้ง

๏ อย่าเกร็งแขน ! ในจังหวะยกขึ้นเหนือน้ำและลงในน้ำ

๏ เก็บหน้าอกของคุณในระดับที่ต่ำในน้ำ, ยกคางของคุณเพื่อที่จะได้รับอากาศ

คุณต้องฝึกทำจนเคยชิน และเมื่อคุณมีความรู้สึกว่าตัวคุณว่ายเหมือนปลาโลมา คุณก็จะเป็นนักว่ายน้ำท่าผีเสื้อที่ยอดเยี่ยม

อย่าลืมการฝึกท่าผีเสื้อเป็นท่าที่ยากและต้องใช้พลังงานและความอดทนที่สูง หวังว่าคุณจะเป็นอีกคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในไม่ช้านี้


การว่ายน้ำท่ากรรเชียง


ท่ากรรเชียง Backstroke

การว่ายท่ากรรเชียงเป็นท่าว่ายที่สวยที่สุด การว่ายกรรเชียงมีประโยชน์ที่จะยืดกล้ามเนื้อ การว่ายกรรเชียง มีหลักเกณฑ์คล้าย ๆ กับการว่ายท่าฟรีสไตล์แตกต่างที่ท่ากรรเชียงเป็นการหงายตัวราบกับระดับน้ำ แต่การว่าย
ฟรีสไตล์เป็นการคว่ำตัว และการวางมือหรือผลักน้ำที่เหมาะมือเป็นอัจฉริยะของนักว่ายน้ำ
การเรียนรู้ข้อผิดพลาดในการว่ายกรรเชียง ต้องพยายามศึกษาขณะปฏิบัติในน้ำ การยกหัวสูงเกิน, การดันมือไปที่ตะโพกและการนอนหงายเหมือนเรือท้องแบนเป็นการต้านน้ำโดยแผ่นหลัง
เมื่อดูจากรูปภาพด้านล่างนี้จะเห็นการเคลื่อนไหวของการว่ายกรรเชียงต้องวางศรีษะให้ต่ำและยกสะโพก
ให้ใกล้พื้นผิวน้ำ ( สังเกตรูป ) 







ต่อไปนี้เป็นการแนะนำการว่ายกรรเชียง ( อย่างย่อ ) การเรียนรู้ด้วยตนเอง การว่ายและเรียนรู้ใช้ความคิด
ด้วยตัวคุณจะพัฒนาทักษะการว่ายโดยธรรมชาติด้วยตัวเองของคุณ และส่วนสำคัญอย่างมากคือการลื่นไหล
และการต้านของน้ำ
1.ให้น้ำดันตัวคุณขึ้น- คุณต้องไว้ใจมันที่จะทำให้ตัวคุณลอย
2 ยืดตัวยาวขนานกับพื้นน้ำและน้ำอยู่ระหว่างซี่โครงของคุณ และผลักมือให้ลำตัวเคลื่อน
3.วางหัวให้ไปด้านหลัง และยึดคอโดยไม่หันหน้าซ้ายขวา
4.ทำตัวสบาย ๆ ผ่อนคลาย ไม่ใช่แข็งเหมือนท่อนไม้
5.เคลื่อนตัวขนานกับน้ำ
6.ยกตะโพกของคุณ ขึ้นข้างบน
7.เตะขาขึ้นลงอย่างถูกต้อง
8.หมุนสะโพกของคุณ ตามจังหวะการว่าย
9.การเตะเท้าอย่าให้เข่าและเท้าอยู่เหนือผิวน้ำ
10.ขณะเริ่มออกตัวให้จัดลำตัวให้ตรง
11.เหยียดแขนให้ตรงขณะที่ออกมาจากน้ำ
12.ทำแขนโค้งงอดึงใต้น้ำ
13.เมื่อถึงธงต้องนับจำนวนแขนของคุณ จากธงถึงกำแพง หากหัวชนกำแพงจะได้รับบาดเจ็บ

การว่ายน้ำท่าฟรีสไตล์


Freestyle Stroke

                         เทคนิคการว่ายท่าฟรีสไตล์ ( อย่างย่อ )


Freestyle คือ การว่ายน้ำที่ไม่จำกัดแบบหรือท่า ในการแข่งขันคุณจะว่ายแบบใดก็ได้ แต่การว่ายฟรีสไตล์เป็นการว่ายที่เร็วที่สุดการว่ายแบบฟรีสไตล์เป็นอย่างไร ? การว่ายท่านี้เป็นการนอนคว่ำลงในน้ำ หมุนแขนของท่านผ่านใต้น้ำและเหนือน้ำอย่างต่อเนื่อง ขาของท่านต้องเตะขึ้นลงอย่างสม่ำเสมอ และหายใจเมื่อท่านหมุนหน้าไปด้านข้าง มีคำพูดที่ว่าการว่ายท่านี้ง่ายมาก แต่มันก็ยังมีอีกเป็นจำนวนมากที่เราจำเป็นต้องรู้

ดูที่รูปผ่านด้านล้างนี้ ก่อนที่เราจะเริ่มแนะนำการว่ายท่าฟรีสไตล์ให้แก่คุณ





เส้นทางนำร่องการว่ายน้ำไม่จำกัดแบบหรือท่า (Freestyle) ดังต่อไปนี้ เมื่อออกไปปฏิบัติจริงแล้ว การว่ายและการเรียนรู้ในความคิดจะช่วยให้คุณพัฒนาสไตล์ได้โดยธรรมชาติด้วยตัวเองของคุณ และที่สำคัญอย่างมากคือการเคลื่อนตัวไม่ให้เกิดการต้านน้ำหรือเกิดการต้านน้ำน้อยที่สุด

๏ นอนอยู่ในน้ำ ถ้าคุณทำได้ก็เป็นสิ่งที่ดี

๏ ให้น้ำเป็นตัวช่วยพยุงคุณไม่ให้จม

๏ ทำตัวสบาย ๆ อย่าเกร็ง

๏ เคลื่อนตัวไปข้างหน้า จัดลำตัวให้ลอยอยู่ผิวน้ำ

๏ วางหน้าอกคุณลงใต้น้ำและก้มหัวลงต่ำเล็กน้อย ตัวคุณจะค่อย ๆ สมดุลย์การนอนคว่ำและเคลื่อนตัวไปข้างหน้าจะ
เป็นการช่วยสร้างสมดุลย์

๏ พัฒนาความรู้สึกที่มือและแขนของท่านเมื่อผ่านลงไปใต้น้ำ

๏ เอียงหัวไหล่ลงเล็กน้อยเมื่อแขนและมือข้างนั้นกำลังผ่านหรือผลักน้ำ อย่าทำตัวตรงแบนราบตลอดเวลา

๏ ทำการว่ายแบบช้าแต่ดึงแขนยาวในขณะที่เริ่มกับมัน

๏ การเคลื่อนที่ผ่านน้ำคุณจำเป็นต้องเหยียดแขนและมือไปข้างหน้า

๏ หายใจออกอย่างมุ่งมั่นในน้ำ และสร้างระบบการหายใจที่ต่อเนื่อง

๏ เก็บหูของคุณไว้ในน้ำขณะที่คุณกลั่นหายใจและดูลงแขนของคุณ .

๏ ใช้ไหล่ของคุณที่จะนำมาแขนของคุณและมือของคุณ พุ่งแทงน้ำไปข้างหน้า

๏ เตะขึ้นและลง โดยเตะจากตะโพกของคุณลงถึงเท้าของคุณ

ไปอบรมการช่วยชีวิตทางน้ำ

เมื่อช่วงประมาณปีที่แล้ว ตัวกระผมได้รับคำสั่งจากทางราชการ ที่เร่งด่วนที่สุดตั้งแต่รับข้าราชการมา คือการไปเข้ารับการอบรมการช่วยชีวิตทางน้ำที่จังหวัดสุโขทัย โดยคำสั่งมาหาผมตอน 4 ทุ่ม แล้วก็ออกเดินทางเช้าตอนตี 5 ทำเอาซะเตรียมตัวเกือบไม่ทันเชียว เพราะการอบรมครั้งนี้ต้องไปถึง 5 วัน การเตรียมการก็ไม่พร้อมเลย ผมต้องเดินทางไปที่สำนักการศึกษา ก่อนตี 5 เพื่อเดินทางไปพร้อมกับเพื่อนครูที่อยู่สังกัดกรุงเทพมหานครด้วยกัน แต่การเดินทางครั้งนี้ กว่าจะออกเดินทางจริงก็เวลา 7.30 น. เดินทางถึงสุโขทัยเวลา 12.00 น. การเดินทางก็ไม่ได้ลำบากอย่างที่คิด ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมงเห็นจะได้ก็ถึงที่หมาย สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุโขทัย พอถึงแล้วทางสถานบันก็ต้อนรับด้วยก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย มันเป็นก๋วยเตี๋ยวที่ใส่ถั่วฝักยาวกับกระหล่ำปลี อร่อยมากๆ อร่อยจนลืมเลยว่าตัวเองมาอบรมว่ายน้ำ พอทานเสร็จก็เข้าสู่พิธีเปิดอย่างเป็นทางการ
ทางสถาบันต้อนรับกันด้วยก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย

ช่วงอธิการสถาบันกล่าวต้อนรับและทำการเปิดการฝึกอบรม

ทุกคนตั้งใจเรียนรู้ภาคทฤษฎี

หลังจากเรียนรู้ภาคทฤษฎีเรียบร้อย ความสนุกก็ได้บังเกิดขึ้น นั่นคือการเรียนรู้ภาคปฏิบัตินั่นเอง คุณครูทุกคนก็เปลี่ยนเป็นชุดว่ายน้ำกันอย่างพร้อมเพียง อยากจะบอกว่าอากาศร้อนมากๆ ฝนไม่มีตก เมฆก็ไม่บังแดดให้สักนิดเลย แถมหลังคาไม่มีอีก
พร้อมจะลงน้ำแล้วครับผม

ทักษะแรกครับลอยตัวให้เป็น แค่ลอยตัวได้ก็ไม่จำน้ำตายแล้วครับ

เริ่มมีอุปกรณ์เข้ามาช่วย เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง
ภาคกลางคืน ต้องฝึกทำ CPR กว่าจะเสร็จกิจกรรมการฝึกอบรมในแต่ละวันก็ ประมาณ 4 ทุ่มได้


เช้ามา ก็ลงน้ำสอบภาคปฏฺิบัติต่อ วันนี้สอบการลอยตัวนิ่งๆ 15 นาที

ฝึกการผายปอดขณะอยู่ในน้ำ
และสุดท้ายทดสอบการว่ายน้ำระยะ 400 เมตร เล่นเอาคางเหลืองเชียว 
และแล้วก็ผ่านการอบรมครูเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำได้อย่างราบรื่น เหนื่อยมากๆ แต่ก็คุ้มค่าที่ได้รื้อฟื้นทักษะการช่วยชีวิตทางน้ำ ทั้งรูปแบบการทำ CPR หรือที่เรียกว่า การนวดหัวใจนั่นแหละครับ มันมีการเปลี่ยนแปลงทุกปี แล้วแต่ผลการวิจัยที่ช่วยคนจมน้ำได้เยอะที่สุด และสุดท้ายก็ได้กลับกรุงเทพมหานครอย่างสวัสดิภาพ



ขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น ( CPR )
สำหรับผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 8 ปีขึ้นไป หลักการปฏิบัติเบื้องต้น ณ.จุดเกิดเหตุ
1. ผู้ป่วยรู้สึกตัวหรือไม่ ให้เขย่าตัวหรือเรียกเสียงดังๆถ้าไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น
2. ให้ติดต่อขอความช่วยเหลือ
3. หายใจได้เองหรือไม่ ถ้าไม่ได้ ให้ช่วยหายใจด้วยวิธีเป่าปาก
     3.1 จัดผู้ป่วยให้นอนราบ
     3.2 ปลอเสื้อผ้าผู้ป่วยให้คลายออก
      3.3 คุกเข่าด้านข้างผู้ป่วย      3.4 เปิดทางเดินหายใจ โดยดันหน้าผากเชยคางขึ้น      3.5 ประเมินว่าผู้ป่วยหายใจหรือไม่ เอียงหน้าให้หูอยู่ใกล้ปากและจมูกของผู้ป่วยและจมูก
ของผู้ป่วยตามองไปที่หน้าอก ดูการเคลื่อนไหวของทรวงอกว่าขยับขึ้นลง
ตามการหายใจหรือไม่ หูฟังเสียงลมหายใจ แก้มสัมผัสลมหายใจออก 
     3.6 ถ้าผู้ป่วยไม่หายใจ ให้ช่วยหายใจ โดยใช้มือบีบจมูกผู้ป่วยแล้วผู้ช่วยเหลือหายใจเข้าปอดเต็มที่
อ้าปากครอบไปบนปากผู้ป่วยจนสนิท แล้วเป่าลมเข้าปากผู้ป่วยเต็มที่ 2 ครั้ง 
     3.7 สังเกตุว่าลมปากเป่า เข้าสู่ปอดผู้ป่วยเต็มที่หรือไม่ โดยดูจากการเคลื่อนไหวของทรวงอก ถ้าลม
ที่เป่าไม่เข้าตัวผู้ป่วย ให้เป่าซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ถ้ายังไม่มีลมเข้าตัวผู้ป่วยอีก อาจมีสิ่งแปลกปลอมอุด
กั้นทางเดินหายใจ ให้ล้วงเอาเสมหะเศษอาหาร ฟันปลอม ( ถ้ามี ) ออกก่อน แล้วให้ช่วยหายใจต่อ 
     3.8 ถ้าผู้ป่วยสามารถหายใจได้เอง ให้หยุดช่วยหายใจ และคอยสังเกตุการหายใจต่อไปอีก
4. ตรวจสอบชีพจรที่คอ ( CAROTID ) ถ้ามีชีพจรไม่ต้องกดหน้าอก
5. ถ้าไม่มีชีพจร ให้ทำการกดหน้าอก ( CHEST COMPRESSION ) 
     5.1 วางสันมือตรงกึ่งกลางระหว่างหน้าอกผู้ป่วยเหนือลิ้นปี่ 2 นิ้วมือ      5.2 วางมืออีกข้างทับด้านบน      5.3 กดน้ำหนักลงไปยังสันมือ 2 ข้าง ลึก 1.5 - 2 นิ้ว      5.4 กดหน้าอกกด 30 ครั้ง โดยนับเป็นจังหวะ 1 และ 2 และ 3 และ 4 .... จนถึง 30      5.5 บีบจมูกและดันหน้าผากเชยคาง ช่วยหายใจด้วยวิธีเป่าปาก 2 ครั้ง สลับการกดหน้าอก
6. ทำซ้ำในขั้นตอนที่ 5 ( 4 รอบ )
7. ประเมินการหายใจและชีพจร ถ้าผู้ป่วยยังไม่หายใจและชีพจรยังไม่เต้นให้ช่วยจนกว่าผู้ป่วย
จะหายใจได้เอง หรือหน่วยกู้ชีพเดินทางไปถึง 
     * คำแนะนำที่ให้ปฏิบัติก่อนเจ้าหน้าที่ไปถึง *
1. ถ้าผู้ป่วยอาเจียน 
     - ตะแคงหน้าผู้ป่วยไปด้านข้าง      - ล้วงเอาเสมหะ หรือเศษอาหาร ออกจากปากผู้ป่วย ก่อนทำการช่วยหายใจ
2. ในกรณี CPR หญิงตั้งครรภ์ ให้จัดท่านอนตะแคงซ้ายของผู้ป่วย โดยใผ้าหนุนรองหลังไว้
ผู้ช่วยเหลือนั่งหันหน้าเข้าหาผู้ป่วย กดหน้าอกให้แรงกดตั้งฉากกำลำตัวผู้ป่วย

การช่วยฟื้นคืนชีพในเด็ก
เด็กอายุ 1 - 8 ปี หลักการปฏิบัติเบื้องต้น ณ.จุดเกิดเหตุ 
     1. ตรวจดูว่าหมดสติจริงหรือไม่ ( ไม่ร้อง ไม่เคลื่อนไหว )      2. จัดให้นอนหงายบนพื้นราบ      3.เปิดทางเดินหายใจ และตรวจดูการหายใจถ้าไม่หายใจเป่าปากช่วยหายใจ 1 ครั้ง      4. ตรวจชีพจรที่คอ ถ้าคลำไม่ได้ให้กดหน้าอก อัตรส่วนในการกดหน้าอกต่อก่เป่าปากเป็น 5 : 1      5. ตรวจชีพจร และการหายใจ ถ้ายังไม่มี ... ให้ทำารช่วยฟื้นคืนชีพต่อไป ควรกดหน้าอกให้ได้ 80 - 100 ครั้ง / นาที จนกว่าหน่วยกู้ชีพไปถึง

การช่วยฟื้นคืนชีพในเด็ก
เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี หลักการปฏิบัติเบื้องต้น ณ.จุดเกิดเหตุ 
     1. ตรวจดูว่าหมดสติจริงหรือไม่ ( ไม่ร้อง ไม่เคลื่อนไหว )      2. จัดให้นอนหงายบนพื้นราบ      3. เปิดทางเดินหายใจ และตรวจดูการหายใจ ถ้าไม่หายใจช่วยหายใจในเด็กเล็กให้ผู้ช่วยประกบปากครอบปากและจมูก
ของเด็ก แล้วเป่าลมผ่านเข้าทั้งปาก และจมูกของเด็ก 
     4. ตรวจชีพจรให้คลำหลอดเลือดแดง ที่โคนแขนด้านในตรงรอยพับหรือข้อศอกถ้าคลำไม่ได้ ใช้นิ้วมือ 2 นิ้ว
วางที่บริเวณครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก โดยวางนิ้วถัดจากระดับราวนมลงมาเล็กน้อย กดหน้าอกลึกประมาณ 1/2 - 1นิ้ว
อัตราส่วนในการกดหน้าอกต่อการเป่าปากเป็น 
     5. ตรวจชีพจร และการหายใจ ถ้ายังไมีมี .... ให้ทำงานช่วยฟื้นคืนชีพต่อไปจนกว่าหน่วยกู้ชีพไปถึง



Saturday, July 30, 2011

PE life saving

การเรียนการสอนว่ายน้ำ
การเรียนการสอนว่ายน้ำ เป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศปัญหาหนึ่ง ที่ควรจะได้รับความสนใจ และเร่งแก้ไข เนื่องจากปัจจุบันการเรียน การสอนว่ายน้ำ เรามุ่งที่จะสอนให้คนของเราว่ายน้ำเป็นเพียง 4 ท่าหลักๆ สำหรับการแข่งขัน คือ
  1. ท่าฟรีสไตล์ (Crawl stroke หรือ Front crawl)
  2. ท่ากรรเชียง (Back stroke)
  3. ท่ากบ (Breast stroke)
  4. ท่าผีเสื้อ (Butterfly stroke)
เมื่อว่ายน้ำได้ 4 ท่านี้แล้วถือว่า เรียนจบว่ายน้ำเป็นแล้ว ไม่จมน้ำ มีความปลอดภัยเพียงพอแล้ว เป็นสาเหตุที่ทำให้พ่อ แม่ ผู้ปกครอง และสังคมโดยทั่วไปมีความเข้าใจและยอมรับว่าการว่ายน้ำได้ 4 ท่า ก็เพียงพอแล้วสำหรับความปลอดภัยทางน้ำ แต่เรายังไม่ได้สอนทั้งคนที่ว่ายน้ำเป็น ว่ายน้ำไม่เป็น และสังคมทั่วไป ให้ได้รับรู้ หรือมีความรู้ ความเข้าใจ และรู้จักวิธีการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ, คนตกน้ำ และจมน้ำที่ถูกต้อง เราไม่ได้สอนความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ เช่น การป้องกันอุบัติภัยทางน้ำภายในบ้านพัก การดูแลความปลอดภัยให้เด็กเล็ก การช่วยผู้ประสบภัยต้องใช้อุปกรณ์ วิธีการเอาชีวิตรอดจากอุบัติภัยทางน้ำ การลอยตัว การว่ายน้ำระยะไกลเพื่อเอาชีวิตรอด สุดท้ายคือ การปฐมพยาบาล การกู้ชีพด้วยการผายปอดและนวดหัวใจ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไข หลักสูตรการเรียนการสอนว่ายน้ำ ให้สอดแทรกความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ การเอาชีวิตรอด การช่วยคนตกน้ำ และการกู้ชีพ เข้าไว้ในการเรียนการสอนว่ายน้ำด้วย