เมื่อช่วงประมาณปีที่แล้ว ตัวกระผมได้รับคำสั่งจากทางราชการ ที่เร่งด่วนที่สุดตั้งแต่รับข้าราชการมา คือการไปเข้ารับการอบรมการช่วยชีวิตทางน้ำที่จังหวัดสุโขทัย โดยคำสั่งมาหาผมตอน 4 ทุ่ม แล้วก็ออกเดินทางเช้าตอนตี 5 ทำเอาซะเตรียมตัวเกือบไม่ทันเชียว เพราะการอบรมครั้งนี้ต้องไปถึง 5 วัน การเตรียมการก็ไม่พร้อมเลย ผมต้องเดินทางไปที่สำนักการศึกษา ก่อนตี 5 เพื่อเดินทางไปพร้อมกับเพื่อนครูที่อยู่สังกัดกรุงเทพมหานครด้วยกัน แต่การเดินทางครั้งนี้ กว่าจะออกเดินทางจริงก็เวลา 7.30 น. เดินทางถึงสุโขทัยเวลา 12.00 น. การเดินทางก็ไม่ได้ลำบากอย่างที่คิด ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมงเห็นจะได้ก็ถึงที่หมาย สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุโขทัย พอถึงแล้วทางสถานบันก็ต้อนรับด้วยก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย มันเป็นก๋วยเตี๋ยวที่ใส่ถั่วฝักยาวกับกระหล่ำปลี อร่อยมากๆ อร่อยจนลืมเลยว่าตัวเองมาอบรมว่ายน้ำ พอทานเสร็จก็เข้าสู่พิธีเปิดอย่างเป็นทางการ
ขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น ( CPR )
สำหรับผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 8 ปีขึ้นไป หลักการปฏิบัติเบื้องต้น ณ.จุดเกิดเหตุ
1. ผู้ป่วยรู้สึกตัวหรือไม่ ให้เขย่าตัวหรือเรียกเสียงดังๆถ้าไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น
2. ให้ติดต่อขอความช่วยเหลือ
3. หายใจได้เองหรือไม่ ถ้าไม่ได้ ให้ช่วยหายใจด้วยวิธีเป่าปาก
3.1 จัดผู้ป่วยให้นอนราบ
3.2 ปลอเสื้อผ้าผู้ป่วยให้คลายออก 3.3 คุกเข่าด้านข้างผู้ป่วย 3.4 เปิดทางเดินหายใจ โดยดันหน้าผากเชยคางขึ้น 3.5 ประเมินว่าผู้ป่วยหายใจหรือไม่ เอียงหน้าให้หูอยู่ใกล้ปากและจมูกของผู้ป่วยและจมูก
ของผู้ป่วยตามองไปที่หน้าอก ดูการเคลื่อนไหวของทรวงอกว่าขยับขึ้นลง
ตามการหายใจหรือไม่ หูฟังเสียงลมหายใจ แก้มสัมผัสลมหายใจออก 3.6 ถ้าผู้ป่วยไม่หายใจ ให้ช่วยหายใจ โดยใช้มือบีบจมูกผู้ป่วยแล้วผู้ช่วยเหลือหายใจเข้าปอดเต็มที่
อ้าปากครอบไปบนปากผู้ป่วยจนสนิท แล้วเป่าลมเข้าปากผู้ป่วยเต็มที่ 2 ครั้ง 3.7 สังเกตุว่าลมปากเป่า เข้าสู่ปอดผู้ป่วยเต็มที่หรือไม่ โดยดูจากการเคลื่อนไหวของทรวงอก ถ้าลม
ที่เป่าไม่เข้าตัวผู้ป่วย ให้เป่าซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ถ้ายังไม่มีลมเข้าตัวผู้ป่วยอีก อาจมีสิ่งแปลกปลอมอุด
กั้นทางเดินหายใจ ให้ล้วงเอาเสมหะเศษอาหาร ฟันปลอม ( ถ้ามี ) ออกก่อน แล้วให้ช่วยหายใจต่อ 3.8 ถ้าผู้ป่วยสามารถหายใจได้เอง ให้หยุดช่วยหายใจ และคอยสังเกตุการหายใจต่อไปอีก
4. ตรวจสอบชีพจรที่คอ ( CAROTID ) ถ้ามีชีพจรไม่ต้องกดหน้าอก
5. ถ้าไม่มีชีพจร ให้ทำการกดหน้าอก ( CHEST COMPRESSION ) 5.1 วางสันมือตรงกึ่งกลางระหว่างหน้าอกผู้ป่วยเหนือลิ้นปี่ 2 นิ้วมือ 5.2 วางมืออีกข้างทับด้านบน 5.3 กดน้ำหนักลงไปยังสันมือ 2 ข้าง ลึก 1.5 - 2 นิ้ว 5.4 กดหน้าอกกด 30 ครั้ง โดยนับเป็นจังหวะ 1 และ 2 และ 3 และ 4 .... จนถึง 30 5.5 บีบจมูกและดันหน้าผากเชยคาง ช่วยหายใจด้วยวิธีเป่าปาก 2 ครั้ง สลับการกดหน้าอก
6. ทำซ้ำในขั้นตอนที่ 5 ( 4 รอบ )
7. ประเมินการหายใจและชีพจร ถ้าผู้ป่วยยังไม่หายใจและชีพจรยังไม่เต้นให้ช่วยจนกว่าผู้ป่วย
จะหายใจได้เอง หรือหน่วยกู้ชีพเดินทางไปถึง * คำแนะนำที่ให้ปฏิบัติก่อนเจ้าหน้าที่ไปถึง *
1. ถ้าผู้ป่วยอาเจียน - ตะแคงหน้าผู้ป่วยไปด้านข้าง - ล้วงเอาเสมหะ หรือเศษอาหาร ออกจากปากผู้ป่วย ก่อนทำการช่วยหายใจ
2. ในกรณี CPR หญิงตั้งครรภ์ ให้จัดท่านอนตะแคงซ้ายของผู้ป่วย โดยใผ้าหนุนรองหลังไว้
ผู้ช่วยเหลือนั่งหันหน้าเข้าหาผู้ป่วย กดหน้าอกให้แรงกดตั้งฉากกำลำตัวผู้ป่วย
การช่วยฟื้นคืนชีพในเด็ก
เด็กอายุ 1 - 8 ปี หลักการปฏิบัติเบื้องต้น ณ.จุดเกิดเหตุ 1. ตรวจดูว่าหมดสติจริงหรือไม่ ( ไม่ร้อง ไม่เคลื่อนไหว ) 2. จัดให้นอนหงายบนพื้นราบ 3.เปิดทางเดินหายใจ และตรวจดูการหายใจถ้าไม่หายใจเป่าปากช่วยหายใจ 1 ครั้ง 4. ตรวจชีพจรที่คอ ถ้าคลำไม่ได้ให้กดหน้าอก อัตรส่วนในการกดหน้าอกต่อก่เป่าปากเป็น 5 : 1 5. ตรวจชีพจร และการหายใจ ถ้ายังไม่มี ... ให้ทำารช่วยฟื้นคืนชีพต่อไป ควรกดหน้าอกให้ได้ 80 - 100 ครั้ง / นาที จนกว่าหน่วยกู้ชีพไปถึง
การช่วยฟื้นคืนชีพในเด็ก
เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี หลักการปฏิบัติเบื้องต้น ณ.จุดเกิดเหตุ 1. ตรวจดูว่าหมดสติจริงหรือไม่ ( ไม่ร้อง ไม่เคลื่อนไหว ) 2. จัดให้นอนหงายบนพื้นราบ 3. เปิดทางเดินหายใจ และตรวจดูการหายใจ ถ้าไม่หายใจช่วยหายใจในเด็กเล็กให้ผู้ช่วยประกบปากครอบปากและจมูก
ของเด็ก แล้วเป่าลมผ่านเข้าทั้งปาก และจมูกของเด็ก 4. ตรวจชีพจรให้คลำหลอดเลือดแดง ที่โคนแขนด้านในตรงรอยพับหรือข้อศอกถ้าคลำไม่ได้ ใช้นิ้วมือ 2 นิ้ว
วางที่บริเวณครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก โดยวางนิ้วถัดจากระดับราวนมลงมาเล็กน้อย กดหน้าอกลึกประมาณ 1/2 - 1นิ้ว
อัตราส่วนในการกดหน้าอกต่อการเป่าปากเป็น 5. ตรวจชีพจร และการหายใจ ถ้ายังไมีมี .... ให้ทำงานช่วยฟื้นคืนชีพต่อไปจนกว่าหน่วยกู้ชีพไปถึง
ทางสถาบันต้อนรับกันด้วยก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย |
ช่วงอธิการสถาบันกล่าวต้อนรับและทำการเปิดการฝึกอบรม |
ทุกคนตั้งใจเรียนรู้ภาคทฤษฎี |
หลังจากเรียนรู้ภาคทฤษฎีเรียบร้อย ความสนุกก็ได้บังเกิดขึ้น นั่นคือการเรียนรู้ภาคปฏิบัตินั่นเอง คุณครูทุกคนก็เปลี่ยนเป็นชุดว่ายน้ำกันอย่างพร้อมเพียง อยากจะบอกว่าอากาศร้อนมากๆ ฝนไม่มีตก เมฆก็ไม่บังแดดให้สักนิดเลย แถมหลังคาไม่มีอีก
พร้อมจะลงน้ำแล้วครับผม |
ทักษะแรกครับลอยตัวให้เป็น แค่ลอยตัวได้ก็ไม่จำน้ำตายแล้วครับ |
เริ่มมีอุปกรณ์เข้ามาช่วย เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง |
ภาคกลางคืน ต้องฝึกทำ CPR กว่าจะเสร็จกิจกรรมการฝึกอบรมในแต่ละวันก็ ประมาณ 4 ทุ่มได้ |
เช้ามา ก็ลงน้ำสอบภาคปฏฺิบัติต่อ วันนี้สอบการลอยตัวนิ่งๆ 15 นาที |
ฝึกการผายปอดขณะอยู่ในน้ำ |
และสุดท้ายทดสอบการว่ายน้ำระยะ 400 เมตร เล่นเอาคางเหลืองเชียว |
และแล้วก็ผ่านการอบรมครูเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำได้อย่างราบรื่น เหนื่อยมากๆ แต่ก็คุ้มค่าที่ได้รื้อฟื้นทักษะการช่วยชีวิตทางน้ำ ทั้งรูปแบบการทำ CPR หรือที่เรียกว่า การนวดหัวใจนั่นแหละครับ มันมีการเปลี่ยนแปลงทุกปี แล้วแต่ผลการวิจัยที่ช่วยคนจมน้ำได้เยอะที่สุด และสุดท้ายก็ได้กลับกรุงเทพมหานครอย่างสวัสดิภาพ
ขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น ( CPR )
สำหรับผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 8 ปีขึ้นไป หลักการปฏิบัติเบื้องต้น ณ.จุดเกิดเหตุ
1. ผู้ป่วยรู้สึกตัวหรือไม่ ให้เขย่าตัวหรือเรียกเสียงดังๆถ้าไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น
2. ให้ติดต่อขอความช่วยเหลือ
3. หายใจได้เองหรือไม่ ถ้าไม่ได้ ให้ช่วยหายใจด้วยวิธีเป่าปาก
3.1 จัดผู้ป่วยให้นอนราบ
3.2 ปลอเสื้อผ้าผู้ป่วยให้คลายออก 3.3 คุกเข่าด้านข้างผู้ป่วย 3.4 เปิดทางเดินหายใจ โดยดันหน้าผากเชยคางขึ้น 3.5 ประเมินว่าผู้ป่วยหายใจหรือไม่ เอียงหน้าให้หูอยู่ใกล้ปากและจมูกของผู้ป่วยและจมูก
ของผู้ป่วยตามองไปที่หน้าอก ดูการเคลื่อนไหวของทรวงอกว่าขยับขึ้นลง
ตามการหายใจหรือไม่ หูฟังเสียงลมหายใจ แก้มสัมผัสลมหายใจออก 3.6 ถ้าผู้ป่วยไม่หายใจ ให้ช่วยหายใจ โดยใช้มือบีบจมูกผู้ป่วยแล้วผู้ช่วยเหลือหายใจเข้าปอดเต็มที่
อ้าปากครอบไปบนปากผู้ป่วยจนสนิท แล้วเป่าลมเข้าปากผู้ป่วยเต็มที่ 2 ครั้ง 3.7 สังเกตุว่าลมปากเป่า เข้าสู่ปอดผู้ป่วยเต็มที่หรือไม่ โดยดูจากการเคลื่อนไหวของทรวงอก ถ้าลม
ที่เป่าไม่เข้าตัวผู้ป่วย ให้เป่าซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ถ้ายังไม่มีลมเข้าตัวผู้ป่วยอีก อาจมีสิ่งแปลกปลอมอุด
กั้นทางเดินหายใจ ให้ล้วงเอาเสมหะเศษอาหาร ฟันปลอม ( ถ้ามี ) ออกก่อน แล้วให้ช่วยหายใจต่อ 3.8 ถ้าผู้ป่วยสามารถหายใจได้เอง ให้หยุดช่วยหายใจ และคอยสังเกตุการหายใจต่อไปอีก
4. ตรวจสอบชีพจรที่คอ ( CAROTID ) ถ้ามีชีพจรไม่ต้องกดหน้าอก
5. ถ้าไม่มีชีพจร ให้ทำการกดหน้าอก ( CHEST COMPRESSION ) 5.1 วางสันมือตรงกึ่งกลางระหว่างหน้าอกผู้ป่วยเหนือลิ้นปี่ 2 นิ้วมือ 5.2 วางมืออีกข้างทับด้านบน 5.3 กดน้ำหนักลงไปยังสันมือ 2 ข้าง ลึก 1.5 - 2 นิ้ว 5.4 กดหน้าอกกด 30 ครั้ง โดยนับเป็นจังหวะ 1 และ 2 และ 3 และ 4 .... จนถึง 30 5.5 บีบจมูกและดันหน้าผากเชยคาง ช่วยหายใจด้วยวิธีเป่าปาก 2 ครั้ง สลับการกดหน้าอก
6. ทำซ้ำในขั้นตอนที่ 5 ( 4 รอบ )
7. ประเมินการหายใจและชีพจร ถ้าผู้ป่วยยังไม่หายใจและชีพจรยังไม่เต้นให้ช่วยจนกว่าผู้ป่วย
จะหายใจได้เอง หรือหน่วยกู้ชีพเดินทางไปถึง * คำแนะนำที่ให้ปฏิบัติก่อนเจ้าหน้าที่ไปถึง *
1. ถ้าผู้ป่วยอาเจียน - ตะแคงหน้าผู้ป่วยไปด้านข้าง - ล้วงเอาเสมหะ หรือเศษอาหาร ออกจากปากผู้ป่วย ก่อนทำการช่วยหายใจ
2. ในกรณี CPR หญิงตั้งครรภ์ ให้จัดท่านอนตะแคงซ้ายของผู้ป่วย โดยใผ้าหนุนรองหลังไว้
ผู้ช่วยเหลือนั่งหันหน้าเข้าหาผู้ป่วย กดหน้าอกให้แรงกดตั้งฉากกำลำตัวผู้ป่วย
การช่วยฟื้นคืนชีพในเด็ก
เด็กอายุ 1 - 8 ปี หลักการปฏิบัติเบื้องต้น ณ.จุดเกิดเหตุ 1. ตรวจดูว่าหมดสติจริงหรือไม่ ( ไม่ร้อง ไม่เคลื่อนไหว ) 2. จัดให้นอนหงายบนพื้นราบ 3.เปิดทางเดินหายใจ และตรวจดูการหายใจถ้าไม่หายใจเป่าปากช่วยหายใจ 1 ครั้ง 4. ตรวจชีพจรที่คอ ถ้าคลำไม่ได้ให้กดหน้าอก อัตรส่วนในการกดหน้าอกต่อก่เป่าปากเป็น 5 : 1 5. ตรวจชีพจร และการหายใจ ถ้ายังไม่มี ... ให้ทำารช่วยฟื้นคืนชีพต่อไป ควรกดหน้าอกให้ได้ 80 - 100 ครั้ง / นาที จนกว่าหน่วยกู้ชีพไปถึง
การช่วยฟื้นคืนชีพในเด็ก
เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี หลักการปฏิบัติเบื้องต้น ณ.จุดเกิดเหตุ 1. ตรวจดูว่าหมดสติจริงหรือไม่ ( ไม่ร้อง ไม่เคลื่อนไหว ) 2. จัดให้นอนหงายบนพื้นราบ 3. เปิดทางเดินหายใจ และตรวจดูการหายใจ ถ้าไม่หายใจช่วยหายใจในเด็กเล็กให้ผู้ช่วยประกบปากครอบปากและจมูก
ของเด็ก แล้วเป่าลมผ่านเข้าทั้งปาก และจมูกของเด็ก 4. ตรวจชีพจรให้คลำหลอดเลือดแดง ที่โคนแขนด้านในตรงรอยพับหรือข้อศอกถ้าคลำไม่ได้ ใช้นิ้วมือ 2 นิ้ว
วางที่บริเวณครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก โดยวางนิ้วถัดจากระดับราวนมลงมาเล็กน้อย กดหน้าอกลึกประมาณ 1/2 - 1นิ้ว
อัตราส่วนในการกดหน้าอกต่อการเป่าปากเป็น 5. ตรวจชีพจร และการหายใจ ถ้ายังไมีมี .... ให้ทำงานช่วยฟื้นคืนชีพต่อไปจนกว่าหน่วยกู้ชีพไปถึง
No comments:
Post a Comment